หน้าเว็บสอบตำรวจ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ถามตอบแนวข้อสอบ พรก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

ถามตอบแนวข้อสอบ พรก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม 60 คะแนน)

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 10 ข้อ

          ข้อสอบวิชานี้ถือได้ว่าไม่ยากเลยค่ะ เพราะถ้าใครอ่าน พรก.นี้โดยละเอียด และหลายๆ รอบ ก็จะสามารถทราบคำตอบได้ทุกข้อ เพราะข้อสอบวิชานี้ถามแบบตรงๆ ไม่มีลวงให้เราตอบผิด ปีที่แล้วมีหลายคนได้เต็ม 10 คะแนนค่ะ ตัวอย่างของข้อสอบปีที่แล้วนะคะ อาจจะมีบางข้อที่ถามไม่ชัดเจนนะคะ

1. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงข้อใด
ก.เพื่อความผาสุกและความเป็นอยุ่ที่ดีของประชาชน ข.ความสงบและความปลอดภัยของสังคม ค. เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ ง.ถูกทุกข้อ ข้อนี้ตอบ ง

2. แผนปฏิบัติราชการต้องสอดคล้องกับข้อใด ตอบ สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน

3. หน่วยงานที่อำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น คือ ตอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

แนวถามตอบข้อสอบงานสารบรรณ ตำรวจ

แนวถามตอบข้อสอบงานสารบรรณตำรวจ

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม 60 คะแนน)
       ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 15 ข้อ
       ในบทความนี้ เราจะมาคุยกันในวิชาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วิชานี้ฉันคิดว่าง่ายสำหรับฉัน เพราะว่าเป็นวิชาที่ถนัด แต่คิดผิดค่ะ เพราะว่าวิชานี้เนื้อหาเยอะมากๆ ออกสอบแค่ 15 ข้อ ซึ่งเราไม่รู้ว่ามันจะออกสอบตรงจุดไหน ฉันจะยกตัวอย่างข้อสอบของปีที่แล้วให้ดูนะคะ อาจจะไม่เหมือนข้อสอบตัวจริงนะคะ เพราะว่าจำข้อสอบออกมา อาจจะสับสนบ้าง แต่ขอให้เห็นภาพของข้อสอบก็พอค่ะ ว่าออกข้อสอบประมาณแนวไหน คุณๆ จะได้อ่านตรงจุด ไม่สะเปะสะปะ หรือเห็นเนื้อหาเยอะแล้ว มันจะทำให้คุณขี้เกียจอ่านหนังสือวิชานี้
ตัวอย่างที่ดิฉันเอามาให้ดูนี้ บางข้อมีเฉลย บางข้อก็ไม่มีนะคะ เพราะจำเฉลยไม่ได้ค่ะ

1. การเขียนหนังสือราชการ (จดหมาย) ถึงรัฐมนตรี... คำขึ้นต้น-ลงท้าย คือ
               คำขึ้นต้น :  คำลงท้าย    ตอบ  เรียน : ขอแสดงความนับถือ
      ซึ่งช้อยส์ที่ให้มา จะมี  กราบเรียน : ขอแสดงความนับถืออย่างสูง (ข้อนี้สำหรับนายกรัฐมนตรีค่ะ)
      เรียน : ขอแสดงความนับถืออย่างสูง, กราบเรียน : ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง        

2. ข้อใดคือหนังสือราชการ  (ข้อนี้จำเฉลยไม่ได้ค่ะ มันยาวมากในแต่ละข้อ)

3. ข้อใดคือการเก็บเอกสารทางการเงิน  (ข้อนี้จำเฉลยไม่ได้ค่ะ) แนะนำให้อ่านการเก็บเอกสารทางการเงินค่ะ

การเตรีมตัวเข้าห้องสอบ

ก่อนลงสนามสอบต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

หลายคนพึ่งเข้าเคยเข้าสอบอาจเตรียมตัวการเข้าห้องสอบไม่ถูก เรื่องเพียงเล็กน้อยอาจทำให้พลาดโอกาสสำคัญของชีวิตได้ ผมจึงนำเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่สำคัญกับทุกท่านมาให้อ่าน ต้องขอบคุณคุณปอยมากครับ ผมเห็นว่ามีประโยชน์เลยขออนุญาตเผยแพร่ครับจาก http://im-police-lady.blogspot.com/

อุปกรณ์นำเข้าห้องสอบ
1. ดินสอดำเบอร์ 2B ขึ้นไป แนะนำให้เหลาปลายดินสอทั้งสองข้าง (พี่ใช้ 3B ค่ะเข้มดี)

2. ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ

3. ยางลบดินสอ

4. บัตรประจำตัวสอบ

5. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ที่ไม่หมดอายุ)

         หมายเหตุ นำรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูปไปด้วย กรณีทำบัตรประจำตัวสอบหาย จะได้ทำใหม่ และติดต่อกองอำนวยการประจำสนามสอบนั้นๆ ก่อนเวลาเรียกเข้าห้องสอบ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
         กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหาย ต้องมีใบบันทึกแจ้งความมาแสดง

ข้อห้ามในการนำเข้าห้องสอบ

1. เครื่องคำนวณเลข

2. กระดาษหรือตำรา

3. อาวุธ

4. เครื่องมือสื่อสาร

5. โทรศัพท์มือถือ

6. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด

7. เครื่องประดับ ต่างหู สร้อยคอ กำไล แหวน

8. นาฬิกาข้อมือ

9. อุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะทุกชนิด

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 (พรบ.ตำรวจแห่งชาติ)

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

 - ชื่อ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
- ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547

- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก

- ใช้บังคับวันถัดจากวันประกาศฯคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547

- เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน

- ก.ต.ช.โดยตำแหน่งประกอบด้วย 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไป 1 คน เป็นเลขานุการ ก.ต.ช.

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. เชี่ยวชาญ 4 ด้านคือ กฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ

- คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. คือ อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

- ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึง 90 วัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้

- ก.ต.ช. มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

- ตำแหน่ง 13

- ยศ 14

- ชั้นข้าราชการ 3

- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ ของ ก.ตร. จำนวน 6 คน

- กรรมการ ก.ตร. ซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน10 ปีและมีอายุไม่เกิน 65 ปี

- ข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ตร.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว

- ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- การดำรงตำแหน่งของ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง 2 ปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง

- ในกรณีที่ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน 60 วันก่อนวันครบวาระ

- การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

- ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่ ก.ตร. ไม่น้อยกว่า 6 คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับร้องขอ

- ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีคุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

- การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ คำนึงถึง (เรียงตามลำดับ)

1. ความอาวุโส

2. ประวัติการรับราชการ

3. ผลการปฏิบัติงาน

4. ความประพฤติ

5. ความรู้ความสามารถประกอบกัน

- ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ถ้า 15 วัน ไม่ผิด)

- โทษทางวินัยมี 7 สถาน (ให้ออก ไม่ใช่โทษทางวินัย)

- การลงโทษทัณฑกรรม ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- การลงโทษกักยามหรือกักขัง ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันได้รับสำนวน

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

- เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องกักตัวข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ต้องไม่เกิน 15 วัน

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันออกจากราชการ

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายใน 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป

- ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออก มีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

- หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

สรุป พ.ร.บ.ตํารวจแห่งชาติ พ.ศ.2547