หน้าเว็บสอบตำรวจ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 (พรบ.ตำรวจแห่งชาติ)

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

 - ชื่อ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
- ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547

- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก

- ใช้บังคับวันถัดจากวันประกาศฯคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547

- เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน

- ก.ต.ช.โดยตำแหน่งประกอบด้วย 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไป 1 คน เป็นเลขานุการ ก.ต.ช.

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. เชี่ยวชาญ 4 ด้านคือ กฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ

- คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. คือ อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

- ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึง 90 วัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้

- ก.ต.ช. มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

- ตำแหน่ง 13

- ยศ 14

- ชั้นข้าราชการ 3

- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ ของ ก.ตร. จำนวน 6 คน

- กรรมการ ก.ตร. ซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน10 ปีและมีอายุไม่เกิน 65 ปี

- ข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ตร.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว

- ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- การดำรงตำแหน่งของ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง 2 ปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง

- ในกรณีที่ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน 60 วันก่อนวันครบวาระ

- การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

- ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่ ก.ตร. ไม่น้อยกว่า 6 คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับร้องขอ

- ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีคุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

- การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ คำนึงถึง (เรียงตามลำดับ)

1. ความอาวุโส

2. ประวัติการรับราชการ

3. ผลการปฏิบัติงาน

4. ความประพฤติ

5. ความรู้ความสามารถประกอบกัน

- ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ถ้า 15 วัน ไม่ผิด)

- โทษทางวินัยมี 7 สถาน (ให้ออก ไม่ใช่โทษทางวินัย)

- การลงโทษทัณฑกรรม ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- การลงโทษกักยามหรือกักขัง ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันได้รับสำนวน

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

- เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องกักตัวข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ต้องไม่เกิน 15 วัน

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันออกจากราชการ

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายใน 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป

- ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออก มีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

- หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

สรุป พ.ร.บ.ตํารวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

7 ความคิดเห็น: